วันอาทิตย์ ที่ 20 เม.ย. 2568
เมื่อเวลา (08.25) ได้ฟังการแถลงข่าวรอบเช้า ของท่านผู้ว่าฯ ชัชชาติ และทีมงาน กทม. หลังเหตุแผ่นดินไหว … แม้สถานการณ์โดยรวมจะเริ่มสงบลง แต่การแถลงข่าวครั้งนี้กลับยิ่งน่าสนใจ เพราะมันไม่ใช่แค่การอัปเดตข้อมูล แต่มันคือ “บทเรียนสำคัญของการสื่อสารในภาวะวิกฤติ”
สิ่งที่โดดเด่นที่สุดคือ การสื่อสารที่ ตรงไปตรงมา ชัดเจน และไม่กลัวที่จะพูดว่า ‘ยังไม่รู้’ … นี่คือหัวใจของแนวคิด “Crisis Communication with Candor” ที่มีรากฐานอยู่ในกรอบของ Situational Crisis Communication Theory (SCCT) ซึ่งระบุว่า การสื่อสารในภาวะวิกฤติควรเลือก “กลยุทธ์ที่สอดคล้องกับลักษณะของเหตุการณ์” เพื่อรักษาความน่าเชื่อถือขององค์กร
ในกรณีนี้ กทม. ใช้แนวทาง “instructing information” และ “adjusting information” ได้อย่างเหมาะสม คือการให้ข้อมูลที่จำเป็นเพื่อความปลอดภัยของประชาชน และการอธิบายเพื่อปรับอารมณ์ความรู้สึกของผู้ฟัง
ในอีกมุมหนึ่ง ท่านผู้ว่าฯ ยังสื่อสารแบบ “ภาวะผู้นำในวิกฤติ” (Crisis Leadership) ที่ดีด้วย 3 มิติ คือ โปร่งใส (Transparency) พูดตรงไปตรงมา อะไรที่ยังไม่รู้ก็ไม่เสแสร้ง / รับรู้สถานการณ์ (Situational Awareness) อธิบายว่าข้อมูลจะทยอยเข้ามาอย่างไร / สร้างความมั่นใจ (Reassurance) แสดงให้เห็นว่ามีแผน มีระบบ และมีทีมที่กำลังทำงานอยู่
ที่สำคัญ คิดว่าอาจารย์ทวิดาอยู่ถูกที่ถูกเวลามากๆ ช่วยหนุนเสริมให้ทุกอย่างจัดการอย่างเป็นระบบอย่างที่ควรจะเป็น ✅✅✅
แม้เราอาจยังไม่ทราบรายละเอียดเชิงเทคนิคในระดับปฏิบัติการ
แต่การสื่อสารที่ดีในช่วงเปลี่ยนผ่านจาก “ความไม่แน่นอน” ไปสู่ “ความเข้าใจร่วมกัน” คือสิ่งที่ทำให้คนในเมืองรู้สึกได้ว่า “เมืองนี้มีคนดูแลอยู่จริง ๆ”
และที่น่ารักเล็กๆ คือ .. ในช่วงที่บางคนยังกลับเข้าคอนโดหรืออาคารสูงไม่ได้ ทาง กทม. เตรียมจัด #ดนตรีในสวน ในหลายพื้นที่ของเมืองครับ ช่วยกันๆ
ในเชิงนโยบายสาธารณะ นี่คือการออกแบบพื้นที่ฟื้นฟู (post-crisis soft recovery) ที่ไม่ใช่แค่เยียวยาร่างกาย แต่คือการดูแล “ใจของเมือง” ด้วยกิจกรรมทางวัฒนธรรมและพื้นที่สาธารณะ